วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมการแต่งกายของจีน

ถังจวง (เสื้อคอจีน)

เสื้อคอจีนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ถังจวง" ที่จริงแล้วชื่อเรียกนี้เป็นชื่อที่เริ่มเรียกโดยชาวต่างชาติ เนื่องจากราชวงศ์ถังของจีนเป็นยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองจนมีชื่อเสียงขจรไปไกลถึงต่างแดน ดังนั้นในสมัยต่อๆ มาชาวต่างชาติจึงเรียกคนจีนว่า "ถังเหริน" หรือคนถัง ย่านที่พักอาศัยของชาวจีนหรือไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอาเซียนและในยุโรปก็เรียกว่า "ถังเหรินเจีย" หรือถนนของคนถัง และชาวจีนโพ้นทะเลเองก็เรียกตัวเองว่า "ถังเหริน" เช่นกัน ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เป็นเพราะราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์ที่ชาวจีนภาคภูมิใจมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง ต่อมาจึงมีการเรียกเสื้อผ้าแบบโบราณของจีนที่คนถังในย่านถังเหรินเจียสวมใส่ว่า "ถังจวง" หรือชุดถัง ซึ่งที่จริงแล้วถังจวงไม่ใช่ชุดในสมัยราชวงศ์ถังแต่อย่างใด แต่เป็นชุดของสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลายถังจวงหรือเสื้อคอจีนดัดแปลงมาจากเสื้อนอกของชายในสมัยปลายราชวงศ์ชิง
แบบเสื้อถังจวงมีลักษณะเด่น 4 ประการคือ
1. คอเสื้อตั้ง โดยเปิดคอเสื้อด้านหน้าตรงกลางไว้
2. แขนเสื้อและตัวเสื้อเป็นผ้าชิ้นเดียวกัน จึงไม่มีรอยตะเข็บต่อระหว่างแขนเสื้อและตัวเสื้อ
3. สาบเสื้อเป็นแนวตรงหรือแนวเฉียง
4. กระดุมเสื้อเป็นกระดุมแบบจีนซึ่งประกอบด้วยเม็ดกระดุมที่ใช้ผ้าถักเป็นปมและห่วงรังดุม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะอื่นๆ เช่น ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรปักลายหรือผ้าต่วน สีเสื้อมีให้เลือกหลากหลาย โดยมากจะมีสีแดงสด สีแดงคล้ำ สีแดงน้ำตาล สีน้ำเงินไพลินและสีกาแฟเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสีเหลืองสว่าง สีเหลืองทอง สีเขียวมรกต สีดำและสีทองด้วย
ฉีผาว (ชุดกี่เพ้า)
ฉีผาวหรือกี่เพ้าเป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดของหญิงชาวแปดกองธงในสมัยราชวงศ์ชิง กี่เพ้าเป็นเครื่องแต่งกายที่เกิดจากการหลอมรวมเป็นหนึ่งของชนชาติต่างๆ ของจีนและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน กี่เพ้าเป็นงานตัดเย็บที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหัตถกรรมการปักลวดลาย ภาพดอกไม้และนกหรือภาพอื่นๆ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน

หากดูตามความหมายของตัวอักษรจีน ฉีผาวหรือกี่เพ้านั้นโดยมากมักหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาว เมื่อผ่านวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยจนมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง จึงได้มีการตีความหมายจากตัวอักษรคำว่าฉีผาวว่าหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาวที่ชาวกองธงทั้งชายและหญิงสวมใส่ ("ฉี" แปลว่า ธง "ผาว" แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาว) แต่ชุดกี่เพ้าในยุคต่อมานั้นพัฒนามาจากชุดเสื้อคลุมยาวที่หญิงชาวแปดกองธงสวมใส่ ต่อมาหญิงชาวฮั่นได้แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวแมนจู ในทางกลับกันหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวมองโกลก็แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวฮั่นเช่นกัน การเลียนแบบกันไปมาทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างการแต่งกายของหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวฮั่น การแต่งกายของหญิงสองชนชาติจึงคล้ายคลึงกันมากขึ้นตามลำดับ จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นกลายชุดกี่เพ้ายุคแรกที่เป็นที่นิยมทั่วประเทศจีน ต่อมาเมื่อเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกแพร่หลายเข้ามาในประเทศจีน ก็ได้มีการดัดแปลงชุดกี่เพ้าให้เข้ากับลักษณะเด่นของชุดแบบตะวันตกกลายเป็นชุดกี่เพ้าแบบใหม่ที่เรียบง่ายและแพร่หลายสู่คนทั่วไปมากขึ้น
ชุดกี่เพ้าในปัจจุบันเป็นชุดที่ออกแบบไปตามแฟชั่นมากขึ้น แต่สีของชุดกี่เพ้าก็ยังคงเป็นสีแบบชุดกี่เพ้าโบราณ เช่น ชุดกี่เพ้าที่ใช้สีแดงสด สีเขียวสดและสีฟ้าสดตัดกับสีแดงและสีดำ นอกจากนี้ยังมีการนำผ้าหลายชนิดมาใช้ในการตัดเย็บและมีรูปแบบหลากหลายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นชุดกี่เพ้าสั้น ชุดกี่เพ้ายาว หรือชุดกี่เพ้าที่ออกแบบตามฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว 

 เครดิต:CRIONLINE

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559

บทความสุขภาพ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เด็กสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น หรือ attention-deficit hyperactivity disorder (ADHD) เป็นโรคที่ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมและปัญหาการเรียนที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก
โดยมีสาเหตุหลักเกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมองในด้านการควบคุมสมาธิ การยับยั้งชั่งใจ และการจัดระเบียบแบบแผนในการทำกิจกรรมต่าง ทำให้เด็กที่เป็นโรคนี้มีอาการสำคัญเป็น 3 กลุ่มอาการหลัก ได้แก่ อาการสมาธิสั้น (inattention) อาการขาดความยั้งคิดหรือหุนหันพลันแล่น (impulsivity) และพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่งหรือซนมากกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน (hyperactivity)
อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นแต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน บางคนมีอาการอยู่ไม่นิ่งชัดเจนตั้งแต่วัยอนุบาล โดยมีพฤติกรรมซนมากกว่าเด็กทั่วไป ยุกยิ่งอยู่ไม่นิ่ง ชอบปีนป่าย เล่นแรง แหย่เพื่อน และทำอะไรโดยเหมือนปราศจากความยั้งคิด ในขณะที่บางคนไม่ซนมากแต่มีอาการเด่นเป็นอาการเหม่อ วอกแว่กตามสิ่งเร้าได้ง่าย ทำงานไม่เสร็จ ขาดความละเอียดรอบคอบ ขี้หลงขี้ลืม ทำของหายบ่อย ในกรณีหลังนี้อาจไม่เห็นว่าเป็นปัญหาชัดเจนจนโตขึ้นและมีปัญหาความล้มเหลวในด้านการเรียนหรือด้านอื่นๆ หรือบางคนก็มีอาการที่เด่นชัดทั้งอาการซนมากและอาการเหม่อในขณะเดียวกัน
โรคสมาธิสั้นส่งผลกระทบต่อเด็กหลายอย่าง โดยเฉพาะถ้าไม่ได้รับการรักษา เช่น ทำให้เด็กไม่ประสบผลสำเร็จในการเรียน ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน ถูกตำหนิ ลงโทษ ซึ่งอาจเป็นผลทำให้มีพฤติกรรมดื้อต่อต้านหรือก้าวร้าว นอกจากนี้ยังอาจมีปัญหาการเสียความภาคภูมิใจในตนเอง วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงอันตรายต่างๆ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นทุกคนจะมีปัญหาดังกล่าว เมื่อโตขึ้นจนสมองมีวุฒิภาวะที่ดี ซึ่งมักต้องรอจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย อาการของโรคสมาธิสั้นก็จะลดน้อยลงหรือหายไปได้ ดังนั้นถ้าได้รับการรักษาและช่วยเหลือที่ดี เด็กสมาธิสั้นก็สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่แตกต่างกับคนทั่วไป
การรักษาโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องอาศัยการรักษาแบบผสมผสาน ด้วยวิธีหลายอย่างร่วมกัน ที่สำคัญได้แก่ 
1) การให้ความรู้แก่พ่อแม่ เพื่อให้ทราบเกี่ยวกับโรคที่เด็กเป็นโดยเฉพาะในประเด็นของอาการที่เกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมองโดยที่เด็กไม่ได้ตั้งใจก่อความเดือดร้อน และสามารถมีอาการดีขึ้นได้ถ้าได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม 
2) การปรับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยให้เด็กควบคุมตนเองได้ดีขึ้น เช่น การจัดบรรยากาศให้สงบ เป็นแบบแผนที่ชัดเจนและไม่มีสิ่งกระตุ้นให้เด็กวอกแวก 
3) การช่วยเหลือในห้องเรียน เช่น ให้เด็กนั่งใกล้ครู แบ่งงานให้ทำทีละน้อย จัดการสอนเสริมแบบตัวต่อตัว รวมทั้งการจัดทำแผนการศึกษาตามความต้องการเฉพาะตัวของเด็ก โดยเฉพาะในกรณีที่มีความบกพร่องในทักษะการเรียนร่วมด้วย
4) การปรับพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น การควบคุมให้เด็กทำงานจนเสร็จ การฝึกการวางแผนและจัดระเบียบในการทำงาน การบอกล่วงหน้าให้เด็กทราบว่าควรทำอะไรและชื่นชมเมื่อทำได้ ทั้งนี้การคาดหวังหรือตั้งเป้าหมายควรเป็นไปตามที่เด็กสามารถทำได้เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง และ 
5) การรักษาด้วยยา ในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น เมื่อเด็กมีอาการมากจนเกิดผลกระทบต่อการเรียนหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นเป็นยาที่มีการนำมาใช้เป็นเวลานานกว่า 60 ปี และมีผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่พิสูจน์ว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่ดีในการรักษาเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่สงสัยว่าลูกจะเป็นโรคสมาธิสั้นควรพาลูกไปรับการตรวจวินิจฉัยจากกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ จิตแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อที่เด็กจะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการช่วยเหลือตั้งแต่เบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีและคุณพ่อคุณแม่ก็มีความสุขขึ้น

เครดิต:http://www.thaihealth.or.th/

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559


我想成为一名教师  ฉันอยากเป็นคุณครู


           如果有人问我将来想做什么?我会想都不想就说教师。在我看来,做老师是一个很伟大的工作。虽然责任很重,但是充满了成就感。我喜欢有成就感的工作。我也喜欢小孩子。我希望能把他们培养成为对社会有用的人。在我看来,任何工作都无法与教师相比。

          ถ้ามีคนถามว่าในอนาคตนั้นอยากทำอะไร  จะพูดโดยไม่คิดเลยว่าเป็นครู ในความคิดของฉัน ครูเป็นงานที่ดีมาก แม้ว่าความรับผิดชอบจะหนัก แต่เต็มไปด้วยความรู้สึกของความสำเร็จ ฉันชอบที่จะทำงานด้วยความรู้สึกของความสำเร็จ ฉันชอบเด็ก ฉันหวังจะอบรมพวกเขาให้กลายเป็นคนที่มีประโยชน์ต่อสังคม ในความคิดของฉันทำงานใด ๆ ไม่สามารถเทียบกับงานครู

STEM ศึกษา

มารู้จัก STEM กันเถอะ
คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้
ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM  ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 
สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่ (1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ (2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  (3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  (4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  และ (5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน  
ขอบคุณที่มา  http://www.stemedthailand.org/

การจัดการชั้นเรียน ระดับประถมศึกษา

การจัดการในชั้นเรียนระดับประถมศึกษา 

ความหมายของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน 
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรี
ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่
ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนต้องมีลักษณะทางกายภาพที่อำนวยความสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างความสนใจใฝ่รู้และศรัทธาต่อการเรียน นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักเรียนและระหว่างครูกับนักเรียน ความรักและศรัทธาที่ครูและนักเรียนมีต่อกัน การเรียนที่รื่นรมย์ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนได้ดี ดังนั้นจึงสามารถแบ่งประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนได้ 2 ประเภทคือ
      1. บรรยากาศทางกายภาพ
      2. บรรยากาศทางจิตวิทยา
บรรยากาศทั้ง 2 ประเภทนี้ มีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น
บรรยากาศทางกายภาพ (Physical Atmosphere)
บรรยากาศทางกายภาพหรือบรรยากาศทางด้านวัตถุ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู มีความสะอาด มีเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนของนักเรียนสะดวกขึ้น เช่น ห้องเรียนมีขนาดเหมาะสม แสงเข้าถูกทาง และมีแสงสว่างเพียงพอ กระดานดำมีขนาดเหมาะสม โต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัยนักเรียน เป็นต้น
บรรยากาศทางจิตวิทยา(Psychological Atmosphere)
บรรยากาศทางจิตวิทยา หมายถึง บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกสบายใจ มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความรักความศรัทธาต่อผู้สอน ตลอดจนมีอิสระในความกล้าแสดงออกอย่างมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ
      การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้
      การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
      ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียนให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัวให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียนให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
      การจัดโต๊ะครู
      ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
      ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
      การจัดป้ายนิเทศ 
      ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดยจัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียนจัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียนจัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
      จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง




วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559